Header Ads

ศิวลึงค์





หลายท่านคงเคยเห็นศิวลึงค์กันมาบ้างแล้วนะคะ เคยสงสัยไหมค่ะว่า ทำไมศิวลึงค์จึงมีหลากหลายแบบ เรามาดูกันนะคะว่า ศิวลึงค์ที่ค้นพบในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นแบบใดบ้าง เราสามารถศิวลึงค์ที่พบได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ
(1) กลุ่มที่ปรากฏเฉพาะรุทรภาคและติดกับฐานโยนี 
(2) กลุ่มที่ปรากฏทั้งสามภาคและแยกออกจากฐานโยนี  
          ในวารสารฉบับนี้ขอนำเสนอ ศิวลึงค์ที่ปรากฏทั้งสามภาคให้ชมกันนะคะ คือ 
     (1) พรหมภาค (ส่วนสี่เหลี่ยมด้านล่าง) 
     (2) วิษณุภาค (ส่วนแปดเหลี่ยมตรงกลาง) 
     (3) รุทรภาค (ส่วนกลมด้านบน) อันแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของตรีมูรติทั้งสาม
ศิวลึงค์และโยนี จัดเป็นตัวแทนอันไม่เป็นรูปมนุษย์ของพระศิวะและพระอุมา เทพเจ้าสูงสุดของลัทธิไศวนิกาย มักปรากฏเป็นประติมากรรมประดิษฐานในครรภคฤหะของเทวาลัยเสมอ สำหรับศิวลึงค์ ถ้าจะประดิษฐานย่อมสวมอยู่บนฐานโยนี โดยฐานโยนีย่อมกลืนพรหมภาคและวิษณุภาค คงหลงเหลือเฉพาะรุทรภาคเท่านั้นที่จะปรากฏด้านบนฐาน จังหวัดนครศรีธรรมราชนับถือศาสนาฮินดูเป็นหลักมากก่อนในพุทธศตวรรษที่ 19 เนื่องจากพบทั้งศิวลึงค์และประติมากรรมพระวิษณุจำนวนมากในบริเวณแถบนี้เยี่ยมชมความงดงามของศิวลึงค์ได้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินครศรีธรรมราชค่ะ

เอกสารอ้างอิง
·        Visitor guide to the Nakhon Si Thammarat National Museum. 2000.

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.